หน่วยที่9


หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

ความหมายของการประยุกต์
      การประยุกต์  หมายถึง การนำ บางสิ่งมาใช้ประโยชน์ โดยปรับใช้อย่างเหมาะสมกับสภาวะที่เฉพาะเจาะจง การประยุกต์เป็นวิธีการนำบางสิ่งมาใช้ประโยชน์ บางสิ่งที่นำมานั้น อาจเป็นทฤษฎี หลักการ แนวคิด ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนำมาใช้ประโยชน์ในภาคปฏิบัติ  โดยปรับให้เข้ากับบริบทแวดล้อมที่เป็นอยู่อย่างเหมาะสม 

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


      เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ 
       เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจ โลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

        เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถปรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ได้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีทั้งระบบใหญ่และเล็ก อันประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ท้าทายของทุกคนมีการนำคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์กับงานต่าง ๆ มากมายตามลักษณะของการใช้งานและประเภทของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ซีพียู เครื่องพิมพ์ คีย์บอร์ด หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ         
 2. ซอฟต์แวร์ (software) ได้แก่ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับควบคุม
ให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่ต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
3. ข้อมูล (data) ได้แก่ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ต้องเก็บรวบรวมไว้ประกอบการตัดสินใจในการทำงาน ข้อมูลนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดสิ่งหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์         
4. บุคลากร (people ware) ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานระบบ (user) 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 การจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ

-ระบบเดี่ยว

-ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร


1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ

1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครื่อข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศท์ และวีดิทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2.การ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการ ระบบการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ
3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบัน การเงินต่างๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดยอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอนอนเงิน และได้นำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของ ธนาคาร
4.การ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ และดาวเทียม เป็นต้น
5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(Hospital Information System : HIS) นำมาใชในงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน เป็นต้น
5.2 ระบบสาธารณสุข นำมาใช้ในด้านการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในกาสรวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดัง กล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา
6.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การสอนผ่านดาวเทียม(Direct ToHome : HTM) หรือการประชุมทางไกล(Vedio Teleconference)
6.1การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
6.2การศึกษาทางไกล มีหลายแบบ เช่น การเรียนการสอนผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ไปจนถึงระบบแพร่ภาพ
6.3เครือ ข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และการใชบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
6.4การ ใช้งานห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว 6.5การใช้งานในห้องปฏิบัติการ การใช้งานร่วมกับอุกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง เป็นต้น
 6.6การ ใชในงานประจำและบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัตินักเรียนนักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผ้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้อาจารย์สามารถติดตามและดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น